Welcome to bangkoktraining.com
We are Profestional
   
ติดต่อเรา
  หน้าแรก 
 1. ขอบข่ายงานบริการ 
  2. โปรแกรมการอบรม
 3. บริการจัดหาวิทยากร
      * รายชื่อวิทยากร
 4. โครงการให้คำปรึกษา 
     *  ด้านงานบุคคล
     *  ด้านเพิ่มผลผลิต
   5. กิจกรรมวอล์คแรลลี่
       * พลังทีม-พลังความสำเร็จ
       * วอล์คแรลลี่เพื่อสุขภาพ
  6. กิจกรรมส่งเสริมการตลาด
      *  งาน E-Vent
     *  จัดหาดารา นางแบบ พิธีกร   
  8. บริการจัดท่องเที่ยวทั่วไป
      *  ทัวร์สุขภาพ 
       * ไหว้พระ 9 วัด
      *  ทัวร์ต่างประเทศ
 9. แพทย์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
    * เลือกสุขภาพดีกับ
      นายแพทย์เปี่ยมโชค  ชลิดาพงศ์
        * โรคภัยควรรู้
        * โภชนบำบัดเพื่อสุขภาพ
        * ถาม-ตอบปัญหาสุขภาพ
  10. เคล็ดลับความสวยงาม
    *    โยคะเพื่อสุขภาพและความงาม
  11. 108 ไอเดียสร้างอาชีพ
       *  โยคะสร้างอาชีพ
    ( มาเป็นครูโยคะกันเถอะ )
       *  รวยด้วยธุรกิจสปา
  12. โหราศาสตร์เพื่อชีวิต
       * โหวงเฮ้งสร้างชีวิต
      * เสริมราศีดวงดีรับปี 2551
      * ปาร์ฏิหารย์องค์จตุคามราม เทพ
       * ศาสตร์ฮวงจุ้ยสร้างความสำเร็จ
  13. ผลงานที่ผ่านมา
  14. เกี่ยวกับเรา
 

แรกเกิด – 3 เดือน
การให้นม
การให้นมควรเลี้ยงทารกแรกเกิดถึงอายุ 3 เดือน ด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว
เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุด มีคุณค่าครบถ้วนทาง
โภชนาการ ให้ภูมิต้านทานโรคติดเชื้อที่ไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ลดความ
เสี่ยงของโรคภูมิแพ้และ เพิ่มความผูกพันใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูกรวมทั้ง
ช่วยประหยัดได้เป็นอย่างดีด้วย จึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่
จะทำได้ หลังคลอดควรให้ลูก ดูดนมโดยเร็วที่สุด ซึ่งระยะแรกควรให้
บ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง 3-4 สัปดาห์ ต่อมาให้นมทุก 3-4 ชั่วโมง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5-15 นาทีแม่จะรู้ได้ว่ามีน้ำนมให้ลูกเพียงพอโดยสังเกตเห็นว่าขณะที่ลูกดูดนมข้างหนึ่ง
จะมีนมพุ่งออกจากหัวนมอีกข้างหนึ่ง เมื่อลูกกินอิ่มแล้วจะหลับสบายและเติบโตดี แม่ที่ทำงานนอกบ้านควรให้นมแม่อย่างเต็มที่ในระยะพักหลังคลอด เมื่อกลับไปทำงาน
ก็จะให้นมแม่ได้ในเวลาเช้ากับกลางคืน และบีบนมเก็บใส่ขวดสะอาดไว้ให้ลูก สำหรับช่วงกลางวันหากจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก (Infant formula) จะต้องผสมให้ถูกส่วนตามคำแนะนำ และดูแลความสะอาดเพื่อป้องกันโรค
ท้องเสีย ด้วยการนึ่งหรือต้มขวดนม และจุกในน้ำเดือดนาน 10 นาทีก่อนใช้ทุกครั้ง ห้ามใช้นมข้นหวานหรือนมวัวธรรมดาเลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 1 ปี

อาหารตามวัย
เมื่อทารกอายุครบ 3 เดือนแล้วจึงเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนม เพื่อให้เกิด
ความคุ้นเคยกับอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เริ่มให้ข้าวบดใส่น้ำแกงจืดสลับกับกล้วยสุกครูดครั้งละ
ประมาณ 1-6 ช้อนชา วันละครั้งให้ดูดนมตามจนอิ่ม

การเติบโตโดยประมาณ
ทารกแรกเกิด หนัก 3 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
อายุ 1 เดือน หนัก 4 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 53 เซนติเมตร
อายุ 2 เดือน หนัก 4.5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 56 เซนติเมตร
อายุ 3 เดือน หนัก 5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 59 เซนติเมตร
การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจเร็ว
ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์หรือพยาบาล

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว แรกเกิดผงกศีรษะหัวหน้าซ้ายขวาได้ในท่านอนคว่ำ ต่อมาชันคอได้ดีขึ้นจนยกศีรษะสูงจากพื้น
การใช้ตาและมือ แรกเกิดเห็นชัดเฉพาะระยะห่าง 8-9 นิ้ว ต่อมามองเห็นชัดในระยะ ไกลขึ้นและจ้องมอง หันหน้าตามสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหวช้าๆ แรกเกิดกำมือแน่น
ต่อมามือกำหลวมๆการสื่อความหมายและภาษา หยุดฟังเสียง ฟังเสียงคุยด้วย
แล้วหันหาเสียง ทำเสียงในคอ ร้องไห้อารมณ์และสังคม มองจ้องหน้า สบตา ทำหน้าตา เลียนแบบอ้าปากแลบลิ้นได้ แสดงความสนใจคนที่เข้า มาใกล้และยิ้มตอบได้
เมื่ออายุ 1-2 เดือน

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน พาไปรับการตรวจสุขภาพรับคำแนะนำการเลี้ยงดูและรับวัคซีน
สร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นระยะแรกเกิด วัคซีนป้องกันวัณโรคและตับอักเสบบี
อายุ 1 เดือน วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี
อายุ 2 เดือน วัคซีนป้องกันโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (อาจมีไข้ได้)
อายุ 4 เดือน วัคซีนป้องกันโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (อาจมีไข้ได้)

ข้อเสนอแนะ
1. พ่อแม่ควรได้อุ้มและสัมผัสเด็กแต่แรกเกิด
2. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 3-4 เดือน
3. ดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเสมอเมื่อลูกร้องควรเข้ามาดูแลทันที
4. รักษาความสะอาด : อาบน้ำ สระผม เช็ดสะดือ
5. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดย
- สัมผัสตัวลูกอย่างนุ่มนวล
- อุ้มพาดบ่าหลังกินนม อายุ 2 เดือนขึ้นไปให้อุ้มท่านั่ง
- เล่นกับลูก ใช้ของเล่นที่ปราศจากสารพิษให้ลูกได้จับต้อง แขวนของสีสดให้ลูกมองตาม
- พูดคุยอย่างอ่อนโยน ทำเสียงโต้ตอบกับเด็กและร้องเพลงกล่อมลูก
- จัดให้ลูกนอนคว่ำหรือตะแคงในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป หากให้นอนเปลหรืออู่ ควรดูให้ไม่มืดทึบ
และควรมีเวลาเงียบสงบให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ
6. การเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดีและ
ลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่ ขอคำปรึกษาได้จากแพทย์
หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
7. ติดตามบันทึก น้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพและ
นำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป


3 เดือน – 6 เดือน
การให้นม
ทารกที่กินนมแม่ ควรจะให้นมแม่ต่อไป สำหรับทารกที่กินนมผสมก็ยังคง
ใช้นมดัดแปลงสำหรับทารกที่มีธาตุเหล็ก ซึ่งอาจจะให้มื้อละ 4-6 ออนซ์ วันละ 6 มื้อ
หรือทุก 3-4 ชม. หลังอายุ 4 เดือนควรจะค่อยๆลดนมมื้อกลางคืนและ
เพิ่มปริมาณนมในแต่ละมื้อห้ามใช้นมข้นหวานหรือนมวัวธรรมชาติเลี้ยงทารก
ตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 1 ปี

อาหารตามวัย
ระยะนี้ทารกต้องการอาหารที่มีธาตุเหล็กและวิตามินต่างๆ เพิ่มขึ้น เมื่อ
ทารกอายุครบ 4 เดือนควรเริ่มให้ข้าวบดกับไข่แดงสุก หรือข้าวบดกับ
ตับ สลับกับข้าวบดกับถั่วต้นเปื่อย หรือเต้าหู้ขาวโดยเริ่มให้มื้อละ 2-3
ช้อนโต๊ะ ควรให้อาหารวันละมื้อเพิ่มจากนม ทารกควรได้รับอาหารมื้อ
หลัก 1 มื้อแทนนมเมื่ออายุ 6 เดือนอาหารสำหรับทารกวัยนี้ควรทำให้
อ่อนนุ่ม สับ บด ต้มเปื่อยและควรมีรสจืด ไม่ควรเติมสารปรุงรสใดๆ
อาหารชนิดใหม่ ควรเริ่มทีละชนิดเดียวและค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเพื่อดู
ว่าลูกมีอาการแพ้ เช่น ผื่น ท้องเสียหรือไม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ ถ้าทารกปฏิเสธเพราะไม่คุ้นเคยควรจะงดไว้ก่อน แล้วลองให้ใหม่ทีละน้อยอีกใน 2-3 วันต่อมาจนทารกยอมรับเมื่อทารกอายุครบ 5 เดือน เริ่มข้าวบดกับเนื้อปลา อาจเติมฟักทองหรือผักใบเขียว เช่น ตำลึง หรือผักบุ้งที่ล้างให้สะอาดสับละเอียดต้มสุก

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 3 เดือน หนัก 5.5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 59 เซนติเมตร
อายุ 4 เดือน หนัก 6 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 62 เซนติเมตร
อายุ 5 เดือน หนัก 6.5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 64 เซนติเมตร
อายุ 6 เดือน หนัก 7 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 67 เซนติเมตร
การเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน อาจจะเร็ว ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์ หรือพยาบาล

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว ท่าคว่ำ ชันคอ ยกศีรษะขึ้นสูงได้โดยใช้แขน
ยันยกหน้าอกชูขึ้น เมื่อจับให้อยู่ในท่านั่งจะยกศีรษะตั้งตรงได้ อายุ 5-6
เดือน คว่ำและหงายเองและคืบได้การใช้ตาและมือ มองตามสิ่งที่เคลื่อนที่จาก
ข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง มือ 2 ข้างมาจับกันตรงกลาง ไขว่คว้าของใกล้ตัวอายุ 6 เดือน
ใช้มือเดียวจับของได้การสื่อความหมายและภาษา หันตามเมื่อได้ยินเรียกชื่อส่งเสียง
อ้อแอ้โต้ตอบกับคนเลี้ยง หัวเราะเสียงดัง ส่งเสียงแหลมรัวเวลาดีใจหรือสนุก
อารมณ์และสังคม ยิ้มตอบและยิ้มทัก ทำท่าทางดีใจเวลาเห็นอาหาร พ่อแม่ และคนเลี้ยงดู เริ่มรู้จักแปลกหน้า

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำการเลี้ยงดู และรับวัคซีนป้องกันโรคเป็นระยะ
อายุ 4 เดือน วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (อาจมีไข้)
อายุ 6 เดือน วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยักและตับอักเสบบี (อาจมีไข้)

ข้อเสนอแนะ
1. เริ่มป้อนอาหารด้วยช้อนที่ขอบมนไม่คม
2. จัดหาที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำและคืบ
3. เล่นกับลูกโดยชูมือหรือของเล่นให้ลูกไขว่คว้า เรียกชื่อให้ลูกหันมา ชมเชยให้กำลังใจเมื่อลูก
พยายามหรือทำได้
4. หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้ลูกหยิบจับมองตามและให้คืบไปมา
5. พ่อแม่ช่วยกันยิ้มเล่น มองหน้า และสบตากับเด็ก พูดคุยโต้ตอบ เลียนเสียงของเด็ก พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว
6. การเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มีสุขภาพดี และลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ ดูแลอย่างเต็มที่ ขอคำปรึกษาได้จากแพทย์หรือ
เจ้าหน้าที่สาธารณุสข
7. บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพและ
นำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป


6 เดือน – 9 เดือน

การให้นม
ทารกที่กินนมแม่ ควรจะให้นมแม่ต่อไป ทารกที่กินนมผสมอาจจะใช้นม
ดัดแปลงสำหรับทารก (Infant formula) ต่อไปก็ได้ หรือ จะเปลี่ยนเป็นนม
สูตรต่อเนื่อง (Follow-up formula) ซึ่งเป็นนมวัวดัดแปลงสำหรับเด็กอายุ 6
เดือน-3 ปี ก็ได้ ควรผสมให้ถูกต้อง มื้อละ 6-8 ออนซ์ ให้นมวันละ 4-5มื้อ
เมื่อรวมทั้งวัน 24 ชม. แล้วทารกไม่ควรได้รับนมวัวดัดแปลง เกิน 32
ออนซ์ ในระยะนี้ทารกส่วนใหญ่จะหลับตลอดคืน ควรงดดื่มนมมื้อดึกได้

อาหารตามวัย
ทารกอายุ 6 เดือน ควรได้อาหารมื้อหลัก 1 มื้อ ซึ่งเป็นข้าวบดใส่ไข่แดง
เนื้อปลา ตับ ถั่วต้มเปื่อยหรือเต้าหู้ขาว อย่างใดอย่างหนึ่งผสมกับผักใบเขียว
รวมหนึ่งถ้วยเล็ก ก็จะทำให้ทารกอิ่มพอดีควรใช้ช้อนเล็กๆ ขอบมนตักป้อนให้ช้าๆ
เมื่อทารกอายุได้ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู หรือเนื้อ บดหรือสับละเอียดต้มสุก
ประมาณ 1ช้อน ผสมกับข้าว และผักใบเขียว นอกจากได้อาหารมื้อหลัก 1 มื้อแล้ว
อาจให้อาหารว่างแก่ทารกได้อีก 1 มื้อ เช่น กล้วยสุกครูดมะละกอสุก
หรือฟักทองในปริมาณ 2-4 ช่อนโต๊ะทารกอายุ 8 เดือน ควรได้อาหาร
มื้อหลัก 2 มื้อและนมอีก 4 มื้อใน 24 ชั่วโมง

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 6 เดือน หนัก 7 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 66 เซนติเมตร
อายุ 7 เดือน หนัก 7.5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 68 เซนติเมตร
อายุ 8 เดือน หนัก 7.8 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 78 เซนติเมตร
การเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน อาจเร็ว
ช้าแตกต่างกันได้บ้าง หากสงสัยควรถามแพทย์หรือพยาบาล
พัฒนาการ

การทรงตัวและเคลื่อนไหว คว่ำและหงายได้เองในท่าคว่ำใช้ข้อมือยันตัวขึ้นได้ นั่งเองได้ชั่วครู่ ตอนแรกอาจต้องเอามือพยุงตัวไว้ ต่อมาราวอายุ 8 เดือนจะนั่งเองได้มั่นคง ท่าจับยืน
เริ่มลงน้ำหนักที่เท้าได้ ต่อมาจะซอยเท้า การใช้ตาและมือ
คว้าของด้วยฝ่ามือ เอื้อมหยิบของด้วยมือ ข้างเดียวและเปลี่ยนมือถือของ
ได้ อายุ 8-9 เดือน เริ่มใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบสิ่งของ มองเห็นทั้งไกล
และใกล้ ใช้ทั้งสองตาประสานกันได้ดีการสื่อความหมายและภาษา หันหาเสียงเรียกชื่อ เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายพยางค์ซ้ำๆ เช่น หม่ำๆ อารมณ์และสังคม รู้จักแปลกหน้า กินอาหารที่ป้อนด้วยช้อนเล็ก เวลารู้สึกขัดใจจะร้อง และรู้จัก แสดงท่าทางดีใจ หัวเราะหรือตบมือ

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปรับการตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำการเลี้ยงดู และวัคซีน สร้างภูมิป้องกันโรคเป็นระยะ
อายุ 6 เดือน วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และตับอักเสบบีอายุ 9 เดือน
วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม (หรือหัดอย่างเดียว ถ้าไม่มีวัคซีนรวม)

ข้อเสนอแนะ
1. หัดลูกให้หยิบอาหารด้วยมือ, หัดถือช้อน
2. หาของเล่นที่ปลอดภัยให้ลูกหยิบจับ ปีนและเคาะเขย่าเล่น
3. ระวังเรื่องความสะอาดและของชิ้นเล็กที่อาจหลุดติดคอได้
4. ควรอุ้มให้น้อยลง เพื่อให้เด็กคืบคลาน นั่งด้วยตัวเองและหัดเกาะยืน แต่พ่อแม่
ต้องดูแลโดยใกล้ชิด
5. ระวังอุบัติเหตุจากการโหนตัวยืน, เหนี่ยวของ, ปลั๊กไฟ, การสำลักเมล็ดผลไม้, ถั่วและเม็ดยา
6. พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูหมั่นพูดคุยกับเด็ก ชี้ชวนให้สนใจสิ่งแวดล้อม ร้องเพลง พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว แต่งตัว
7. การเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้พ่อแม่มี สุขภาพดี และลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่ ขอคำปรึกษาได้จากแพทย์หรือ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
8. บันทึกน้ำหนัก ความยาวและพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป


9 เดือน – 12 เดือน
การให้นม
นมแม่ในระยะนี้จะมีปริมาณลดลงแต่คุณภาพยังดีอยู่ จึงควรให้ทารก
กินนมต่อไป สำหรับทารกที่กินนม ผสมนั้นใช้นมวัวดัดแปลงสำหรับ
เด็กอายุ 6 เดือน-3ปี (follow-up formula) หรือนมดัดแปลงสำหรับ
ทารก (Infant formula) ในปริมาณไม่เกินวันละ 32 ออนซ์ และในระยะนี้
ทารกควรจะหลับตลอดคืน โดยไม่ตื่นขึ้นมากินนมมื้อดึก เพื่อให้เด็กกิน
อาหารได้ตามวัย ควรลดมื้อนมลงเพื่อทดแทนด้วยอาหาร รวมทั้งนมและ
อาหารควรเป็นประมาณ 6 มื้อใน 24 ชั่วโมง เช่น ถ้าให้อาหาร 2 มื้อ ควร
ให้นมอีก 4 มื้อ ห้ามใช้นมข้นหวานหรือนมวัวธรรมดาเลี้ยงทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 1 ปี

อาหารตามวัย
อายุ 9 เดือน ทารกในวัยนี้ควรจะได้อาหารมื้อหลัก 2 มื้อ มื้อละ 1 ถ้วย โดยเตรียมจากข้าวบดผสมไข่
แดงทั้งฟอง ตับหรือเนื้อสัตว์ ถั่วต้มเปื่อย กับผักใบเขียว นอกจากนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ทั้งฟองที่ต้มสุก
และบดละเอียดแก่ทารกได้ยกเว้นเด็กที่มี ประวัติภูมิแพ้อายุ 10-12 เดือน ทารกควรได้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และให้ อาหารว่างวันละ 1 มื้อ เช่น กล้วยสุกครูด
มะละกอสุก ฟักทองนึ่งในปริมาณ 3-4 ช้อนโต๊ะ

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 9 เดือน หนัก 8 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 72 เซนติเมตร
อายุ 10 เดือน หนัก 8.5 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 73 เซนติเมตร
อายุ 11 เดือน หนัก 8.8 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 74 เซนติเมตร
อายุ 12 เดือน หนัก 9 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 75 เซนติเมตร

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว นั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืน
หัดตั้งไข่ ยืนเองได้ชั่วครู่ เมื่ออายุ 12 เดือนและจูงเดินได้
การใช้ตาและมือ ใช้นิ้วหยิบของได้ เริ่มหยิบของเล็กโดยใช้
นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ มองตามของที่ตกจากมือเปิดหาของที่ซ้อน
ไว้ได้การสื่อความหมายและภาษา ฟังรู้ภาษาและเข้าใจ สีหน้า ท่าทางได้ ให้
ของเวลาพ่อ แม่หรือผู้เลี้ยงขอ เปล่ง เสียงเลียนแบบพยัญชนะแต่ไม่มีความหมาย
อารมณ์และสังคม เล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตาม ไปเก็บของที่ตกรู้จักแปลกหน้าและร้องตามแม่
เมื่อแม่จะ ออกไปจากห้อง หยิบอาหารกินได้

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปรับการตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำการเลี้ยงดูและวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นระยะ อายุ 9
เดือน วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม หรือหัด อย่างเดียวถ้าไม่มีวัคซีนรวม อาจมีไข้และผื่นขึ้นได้ 5-7 วันหลังได้วัคซีนอายุ 12 เดือน ตรวจสุขภาพ ติดตามการเติบโตและพัฒนาการวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ

ข้อเสนอแนะ
1. ให้อาหารเพิ่มเป็น 3 มื้อ และบดอาหารให้หยาบขึ้นเป็นชิ้นเล็กๆ ที่อ่อนนุ่ม เพื่อให้เด็กหัดเคี้ยวและกลืน
2. เริ่มให้เด็กถือช้อน หัดตักของข้นๆ บ้างและให้หัดดื่มจากถ้วย
3. ให้หยิบจับของเล่นสิ่งของในบ้านที่ไม่มีอันตราย
4. พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูควรเล่นกับเด็กบ่อยๆ พูดคุยด้วยและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำแมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ
5. ให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัวบ้างและให้โอกาสเด็กเล่นเองบ้าง แต่ต้องมีผู้ดูแล
ตลอดเวลา
6. ระวังอุบัติเหตุในบ้าน เช่น พลัดตกจากบันได, ปลั๊กไฟ, การสำลักเม็ดผลไม้, ถั่ว และเม็ดยา
7. สอนเด็กให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ โดยบอกหรือทำท่าทางให้เด็กรู้ เช่น เมื่อเด็กทำสิ่งที่ไม่สมควรควรจับตัวไว้ มองหน้าหรือห้าม
แต่เมื่อเด็กทำสิ่งที่ดีควรจะยิ้มกล่าวชมหรือกอด
8. การเว้นช่วงการมีลูกคนต่อไปประมาณ 2-3 ปี เพื่อให้แม่มี สุขภาพดี และลูกแต่ละคนได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่โปรดปรึกษาแพทย์หรือ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
9. บันทึกน้ำหนัก ความยาวและพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป


12 เดือน – 18 เดือน
การให้นม
นมแม่ในระยะนี้ถ้ายังมีปริมาณมากพอสมควร ควรให้เด็กต่อไป
และค่อยๆ เลิกนมแม่เมื่ออายุ ประมาณ 18 เดือน ถ้ากินนม
ผสมอาจใช้นมวัวดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็กอายุ 6 เดือน
-3 ปี (follow-up formula) หรือนมวัวธรรมดา เช่น นมผงธรรม
ดา นมสด UHT, นมพาสเจอร์ไรซ์ ประมาณวันละ 3 มื้อ มื้อละ
7-8 ออนซ์ รวม 20-24 ออนซ์ ควรค่อยๆ เลิกขวดนมและดื่มนม
จากถ้วนแทน ไม่ควรให้ดูดนมขวดจนหลับไปจะทำให้ฟันผุ

อาหารตามวัย
เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลัก 3 มื้อที่มีสารอาหารครบเหมือน
ผู้ใหญ่ แต่ละมื้อนอกจากข้าวหรืออาหารแป้ง 1 ถ้วยควรมีเนื้อ
สัตว์ 1 ช้อนโต๊ะร่วมกับน้ำพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง,
น้ำมันข้าวโพด และผักใบเขียว เด็กควรกินไข่ทั้งฟองวันละ 1 ฟองและ
ผลไม้ ควรทำอาหารให้สุกอ่อนนุ่มและเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เด็กเคี้ยว

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 12 เดือน หนัก 9 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 75 เซนติเมตร
อายุ 15 เดือน หนัก 10 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 77 เซนติเมตร
อายุ 18 เดือน หนัก 10.8 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 80 เซนติเมตร

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว เดินเองได้ ท่ายืนก้มลงเก็บของ
แล้วลุกขึ้นได้โดยไม่ล้ม การใช้ตาและมือ วางของช้อนกัน 2-3 ชั้น ขีดเขียน
เป็นเส้นยุ่งๆการสื่อความหมายและภาษา พูดเป็นคำพยางค์เดียว
ที่มี ความหมาย เช่น "แม่, พ่อ, นม, น้ำ" ชี้ส่วนต่างๆบนใบหน้าได้ตามคำบอก
อารมณ์และสังคม ใช้ช้อนตักแต่ยังหกอยู่บ้าง กลิ้งลูกบอลรับส่งกับ
ผู้ใหญ่ เลียนแบบสีหน้า ท่าทาง เช่น โบกมือ ไหว้

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปรับการตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำการเลี้ยงดูและรับวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นระยะ
อายุ 12 เดือน ตรวจสุขภาพติดตามการเติบโตและพัฒนาการ
อายุ 15 เดือน ตรวจสุขภาพติดตามการเติบโตและพัฒนาการ
อายุ 18 เดือน วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (อาจมีไข้ได้)

ข้อเสนอแนะ
1. ฝึกการดื่นน้ำหรือนมจากถ้วยทีละน้อย โดยผู้ใหญ่ช่วยถือถ้วยให้ก่อน ต่อมาให้เด็กถือถ้วยยกขึ้นดื่มเอง และเลิกใช้ขวดนม
2. ทำอาหารที่อ่อนนุ่มตัดเป็นชิ้นเล็กให้เด็กหัดหยิบกินเองและฝึกการใช้ช้อนตักอาหาร
โดยใช้ชามขอบสูงและช้อนเล็กขอบมน
3. ฝึกขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะให้เป็นที่ เช่น กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เด็กใช้ได้ แต่เด็กอาจทำเปื้อนได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะเพิ่งจะหัดควบคุมการขับถ่าย
4. สอนการช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวัน และระเบียบวินัยอย่างง่ายๆ ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่างใช้วิธีชักจูงให้สนใจทำจะได้ผลดีกว่าการสั่งหรือบังคับขู่เข็ญ
เมื่อเด็กทำไม่ถูกต้องควรแนะนำสั่งสอนอย่างละมุนละม่อมทันที
5. ส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย
- จัดบริเวณที่ปลอดภัยให้เด็กมีอิสระที่จะเดิน ปีนป่าย และเล่นโดยอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่
- จัดหาของเล่นที่เหมาะสมกับเด็ก และเล่นกับเด็กด้วย เช่น ลูกบอลล์ กล่องที่ซ้อนกันได้ ของเล่นลอยน้ำ หาของที่ซ่อนไว้
- ยิ้มแย้ม พูดคุยโต้ตอบกับเด็ก เรียกชื่อเด็กและพูดถึงสิ่งที่เด็กสนใจหรือกำลับทำอยู่ ชมเชยเมื่อเด็กทำสิ่งที่บอกได้ อุ้มชูและกอดจูบเด็กและร้องเพลงกล่อมเด็ก
- ให้เด็กได้พบเห็นญาติหรือเพื่อนบ้าน และร่วมในกิจกรรมของครอบครัว
6. บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพและ นำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

18 เดือน – 24 เดือน

การให้นม
นมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก แม้ว่านมแม่จะหมดไปแล้วอาจใช้นมวัวดัดแปลงสำหรับ
เด็กอายุ 6 เดือน-3 ปี (follow-up formula) หรือนมวัวธรรมดา เช่น นมสด UHT, นมพาสเจอร์ไรซ์ ประมาณวันละ 3 มื้อ ครั้งละ 7-8 ออนซ์ โดยให้ดื่มจากถ้วยหรือใช้หลอดดูด
ควรเลิกใช้ขวดนม

อาหารตามวัย
เด็กควรได้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ ที่มีสารอาหารครบเหมือนผู้ใหญ่
แต่ละมื้อนอกจากข้าวหรืออาหารแป้ง 1 ถ้วยควรมีเนื้อสัตว์ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ
พืชที่ใช้ปรุงอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และผักใบเขียว
เด็กควรกินไข่ทั้งฟองวันละ 1 ฟองและผลไม้ อาหารมื้อหลัก 3 มื้อเหมือน
ผู้ใหญ่และอาหารว่าง 1 มื้อ ควรเป็นผลไม้ เช่น กล้วย, มะละกอสุก, ส้ม
เป็นต้น ควรทำอาหารให้สุกอ่อนนุ่มและเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เด็กเคี้ยว

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 18 เดือน หนัก 10.8 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 80 เซนติเมตร
อายุ 24 เดือน หนัก 11.8 กิโลกรัม ตัวยาวประมาณ 85 เซนติเมตร

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว เดินคล่อง วิ่ง จูงมือเดียว
ขึ้นบันได เดินถอยหลัง เตะบอลได้
การใช้ตาและมือ วางของช้อนกัน 4-6 ชั้น ขีด
เขียนเป็นเส้นยุ่งๆ เอง ขีดเส้นตรงในแนวดิ่งได้
การสื่อความหมายและภาษา ทำตามคำบอกที่ไม่มีท่าทาง
ประกอบได้ ชี้รูปภาพตามคำบอกได้ พูดเป็นคำโดดได้หลาย
คำ พูดเป็นวลี 2-3 พยางค์ต่อกันเมื่ออายุ 2 ปี
อารมณ์และสังคม ถือถ้วยน้ำดื่มเองใช้ช้อนตักอาหารแต่ยัง
หกบ้าง เริ่มถอดเสื้อผ้าเองได้ เริ่มความคิดและตัดสินใจด้วย
ตนเอง เริ่มต่อต้านคำสั่ง อาจร้องอแงเมื่อรู้สึกขัดใจ

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปรับการตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำการเลี้ยงดูและรับวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นระยะ
อายุ 18 เดือน วัคซีนป้องกันโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (อาจมีไข้ได้) วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ ในท้องถิ่นที่ มีโรคนี้อายุ 24 เดือน
ตรวจสุขภาพ ติดตามการเติบโตและพัฒนการ

ข้อเสนอแนะ
1. ให้กินอาหารเองร่วมวงกินอาหารกับครอบครัว เลิกใช้นมขวด เด็กอาจเบื่ออาหารบ้าง ห่วงเล่น ไม่ควรบังคับ แต่ควรให้อาหารตามเวลา และไม่ให้กินจุบจิบ หรือให้น้ำอัดลม
ของหวาน ก่อนมื้ออาหาร
2. หัดแปรงฟัน โดยทำเป็นแบบอย่าง เริ่มพาไปตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์
3. ฝึกขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะให้เป็นที่ เช่น กระโถนหรือส้วมที่ดัดแปลงให้เด็กใช้ได้ แต่เด็กอาจทำเปื้อนได้โดยไม่ได้ตั้งใจเพราะเพิ่งจะหัดควบคุมการขับถ่าย
4. สอนการช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวัน และระเบียบวินัยอย่างง่ายๆ ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่าง ใช้วิธีชักจูงให้ สนใจทำจะได้ผลดีกว่าการสั่งหรือบังคับขู่เข็ญ เมื่อเด็กทำไม่ถูกต้องควรแนะนำสั่งสอนอย่างละมุนละม่อมทันที
5. ส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย
- ให้ของเล่นที่เริ่มซับซ้อนกว่าเดิมบ้าง สีสันและรูปทรงต่างกัน เล่นน้ำเล่นทราย
- เล่นเกมส์ง่ายๆ เช่น แมงมุม จ้ำจี้ ไล่จับ
- พ่อแม่คุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว ให้ดูรูปภาพและเล่าเรื่องสั้นๆ
- ให้ความสนใจเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โต้ตอบ ยิ้มแย้ม ชมเชยบ้าง แต่ต้องฝึกให้เด็กรู้ว่า สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควรโดยชี้แนะและให้เด็กมีทางเลือกเองบ้าง
6. บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพ และนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป


2 ปี – 3 ปี
การให้นม
นมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็กวัยนี้ ควรให้เด็กดื่มนมวัวธรรมดา เช่น นมสด UHT, นมพาสเจอร์ไรซ์ หรือนมถั่วเหลือง เป็นประจำทุกวัน วันละ 2-3 ถ้วย ครั้งละ 6-8 ออนซ
อาหารตามวัย
อาหาร 3 มื้อเหมือนผู้ใหญ่ กับข้าว แต่ละมื้อควรมีเนื้อสัตว์ประมาณ 1-2
ช้อนโต๊ะ ไข่ น้ำมันพืชและผัก นม 2-3 แก้วต่อวัน อาหารว่าง 1 มื้อ เป็น
ผลไม้ เช่น มะละกอ ส้ม กล้วย เป็นต้น ฝึกให้เด็กตักอาหารกินเอง

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 2 ปี หนัก 11.8 กิโลกรัม สูงประมาณ 85 เซนติเมตร
อายุ 2 ปีครึ่ง หนัก 12.8 กิโลกรัม สูงประมาณ 88 เซนติเมตร
อายุ 3 ปี หนัก 13.8 กิโลกรัม สูงประมาณ 92 เซนติเมต

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว เตะลูกบอลและขว้างลูกบอลไปข้างหน้า
กระโดดอยู่กับที่ได้ เดินขึ้นบันได สลับเท้า ขี่รถจักรยานสามล้อได้เมื่อ
อายุ 3 ปี การใช้ตาและมือ/สติปัญญา เปิดหนังสือทีละแผ่น ต่อชั้นไม้สูง 8 ชั้น
เขียนกากาบาดและวงกลมได้ตามตัวอย่างการสื่อความหมายและภาษา
อายุ2 ปีพูดได้ 2-3 คำต่อกัน ต่อมาพูดเป็นประโยคและโต้ตอบได้ตรง
เรื่อง ร้องเพลงง่ายๆ บอกชื่อตัวเองได้ อาจพูดบางคำยังไม่ชัด
อารมณ์และสังคม บอกเวลาจะถ่ายอุจจาระ ถอดเสื้อผ้าได้และใส่เองได้
อายุ 3 ปี บอกเพศของตัวเองได้ เล่นเข้า กลุ่มและรู้จักขอและแบ่งปันได้
รู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้นเล่นเองได้นานขึ้น อายุ 3 ปีจะแยกจากแม่ได้
จึงเป็นช่วงเหมาะที่จะเริ่มเข้าอนุบาล

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปรับการตรวจสุขภาพ และรับคำแนะนำการเลี้ยงดูและรับ วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นระยะ
อายุ 2 ปี ตรวจสุขภาพ ติดตามการเติบโตและพัฒนาการวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ
อายุ 3 ปี ตรวจสุขภาพ ติดตามการเติบโตและพัฒนาการ

ข้อเสนอแนะ
1. ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง เช่น กินข้าว แปรงฟัน แต่งตัว โดยให้เด็กลอง
ทำเอง ชี้แนะช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น
2. เปิดโอกาสให้เล่นกับเด็กอื่นในวัยเดียวกันและเล่นกลางแจ้ง โดยคอย
ดูแลใกล้ชิด
3. พูดคุยและรับฟังเด็ก พยายามอธิบายโดยใช้เหตุผล และเลือกรายการ
โทรทัศน์ที่เหมาะสมกับเด็กให้ดูไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
4. อายุ 3 ปี เริ่มเข้าโรงเรียนอนุบาล ซึ่งไม่ควรเน้นเรื่องการเรียนอย่าง
ท่องจำ หรืออ่านเขียนแต่ควรเตรียมความพร้อม เสริมพัฒนาการทุกด้าน
ได้แก่ การเคลื่อนไหว สติปัญญา การสื่อภาษาด้านอารมณ์และสังคม
5. ระวังอุบัติเหตุ พลัดตกจากที่สูง สารพิษ ของมีคม, จมน้ำ, ใช้เข็มขัดนิรภัยเวลานั่งรถยนต์
หลีกเลี่ยงการเอาเด็กนั่งมอเตอร์ไซด์
6. พาไปตรวจสุขภาพ และพบทันตแพทย์เพื่อเคลือบฟลูโอไรด์
7. บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงใน สมุดสุขภาพและนำติดตัวไปเมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

3 ปี – 6 ปี
การให้นม
นมเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็กวัยนี้ ควรให้เด็กดื่มนมวัวธรรมดา UHT พาสเจอร์ไรซ์ หรือนมถั่วเหลือง เป็นประจำทุกวัน วันละ 2-3 ถ้วย ครั้งละ 6-8 ออนซ์
อาหารตามวัย
อาหารมื้อหลัก 3 มื้อเหมือนผู้ใหญ่ กับข้าวแต่ละมื้อควร
มีเนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ พืช และผัก นม 2-3 ถ้วยต่อวัน
อาหารว่าง 1 มื้อ เป็นผลไม้เช่น กล้วย, มะละกอสุก,
ส้ม เป็นต้น จัดให้เด็กกิน อาหารเองร่วมสำรับกับครอบครัว

การเติบโตโดยประมาณ
อายุ 3 ปี หนัก 13.8 กิโลกรัม สูงประมาณ 92 เซนติเมตร
อายุ 4 ปี หนัก 16 กิโลกรัม สูงประมาณ 100 เซนติเมตร
อายุ 5 ปี หนัก 18 กิโลกรัม สูงประมาณ 108 เซนติเมตร
อายุ 6 ปี หนัก 20 กิโลกรัม สูงประมาณ 115 เซนติเมตร

พัฒนาการ
การทรงตัวและเคลื่อนไหว ยืนขาเดียวชั่วครู กระโดยขาเดียวได้ ขึ้นลงได้
สลับเท้า เดินต่อส้นเท้าเป็นเส้นตรงไปข้างหน้าได้
การใช้ตาและมือ/สติปัญญาต่อชิ้นไม้สามชิ้นเป็นสะพาน วาดรูปคนมี
อย่างน้อย 2 ส่วน คือส่วนหัวและแขนหรือขา เขียนวงกลม สี่เหลี่ยมและ
สามเหลี่ยมได้ตามแบบ เมื่ออายุ 3,4 และ 5 ปี ตามลำดับ
การสื่อความหมายและภาษา เข้าใจความหมายของคำมากขึ้น เล่าเรื่องได้
นับของได้ถึง 3-5 ชิ้น ถาม "ทำไม" "เมื่อไร" นับ 1 ถึง 10 โดยท่องจำ
อารมณ์และสังคม ควบคุมการถ่ายอุจจาระได้ดี แยกจากมารดาได้ไม่ร้อง
ช่วยตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้ ควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ส่วนใหญ่
ไม่ปัสสาวะรดที่ นอนหลังอายุ 4 ปี ปรับตัวได้กับกฎระเบียบ เล่มสมมุติและมีจิตนาการมาก

การตรวจสุขภาพและรับวัคซีน
พาไปรับการตรวจสุขภาพ รับคำแนะนำการเลี้ยงดูและรับ วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคเป็นระยะ
อายุ 3 ปี ตรวจสุขภาพ ติดตามการเติบโตและพัฒนาการ
อายุ 4 ปี วัคซีนป้องกันโปลิโอ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (อาจมีไข้ได้) วัคซีนป้องกันหัด หัด
เยอรมันและคางทูม (ถ้ายังไม่เคยได้)
อายุ 5 ปี วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (กระตุ้น)
อายุ 6 ปี ตรวจสุขภาพ ติดตามการเติบโตและพัฒนาการ

ข้อเสนอแนะ
1. ให้เด็กเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนและฝึกหัดแก้ไขความขัดแย้งเองโดยมีผู้ใหญ่ดูแลห่างๆ และช่วยยามจำเป็นเท่านั้น
2. ดูแลให้เด็กมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามระเบียบวินัย, ตามกฎของโรงเรียนและระเบียบใน
ครอบครัว
3. ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยงานบ้าน, ฝึกการช่วยตนเองและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
4. ป้องกันอุบัติเหตุจากเครื่องไฟฟ้า, อุบัติเหตุทางถนน ควรสอนกฎจราจรอย่างง่ายๆ แก่เด็ก สอนว่ายน้ำและฝึกการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเล่นสมมติ
5. ฝึกพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทั่วไป พฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง ไม่กินจุบจิบ ไม่กินของหวานและมันเกินไป
6. เลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูก ควรพิจารณาเรื่องการเดินทาง ความปลอดภัย และครูที่มีเมตตาเข้าใจเด็กในวันนี้มากกว่า
ที่จะเร่งเรียน
7. พูดคุยตอบคำถามของเด็กด้วยความเต็มใจ ชักชวนให้เด็กดูรูปภาพ อ่านหนังสือ และเล่านิทานให้เด็กฟัง
8. บันทึกน้ำหนัก ความยาว และพัฒนาการของเด็กลงในสมุดสุขภาพและนำติดตัวไป
เมื่อพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป

 


บางกอก โยคะ
แหล่งรวมข้อมูล โยคะ
อบรม ครูโยคะู
บริการสอน โยคะ

เรียน โยคะ ฟรี!!
โทร.02-634-4200,
081-826-8147,
081-485-1319

www.bangkokyoga.com

เปิดแล้ววันนี้

หลักสูตรครูโยคะ
สร้างอาชีพ
รุ่น 8
(เดือนพฤษภาคม 2551)

สอนโดยผู้เชี่ยวชาญ
ศาสตร์-ศิลป์แห่งโยคะ
รับประกาศนียบัตร VCD คู่มือการสอน
จบแล้วมีงานรองรับทันที

* หลักสูตรครูโยคะระดับมาตราฐาน
หฐโยคะ กุณฑาลิณีโยคะ
อัษฎางคโยคะ
หลักสูตร 48 ชม. ราคา 9,900
* หลักสูตรครูโยคะขั้นสูง
ปูมโยคะ จตุรโยคะ ไจโรโยคะ
หลักสูตร 20 ชม. ราคา 8,900
คลิกที่นี่


CD โยคะ 28 ท่า เพื่อฟิต & เฟิร์ม
มีจำหนายแล้ว เพียง 100.-
ติดต่อโฆษณา
คุณเอกอุไร
โทร.081-485-1319
บริการรับทำบัญชีโดย CPA
หน่วนงานที่เกี่ยวข้อง
   
หน้าหลัก | ความงาม | มุมสุขภาพ | มุมแฟชั่น | การแต่งหน้า | ช้อปปิ้ง | เซ็กส์ | เคล็ดลับหุ่นดี | โหราศาสตร์
webboard | Q&A | Contact us
© Copyright ฺิBangkoktraining.com inc. All Rights Reserved.1998 - 2007